จิตสำนึกกับสิทธิส่วนบุคคล

personal-rights

พื้นที่ส่วนบุคคลบนโลกโซเชี่ยล กิจกรรมบนสื่อออนไลน์ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นในทุกๆวินาทีเจตนาแฝงด้านการตลาด หรือพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ขาดความเคารพด้านสิทธิส่วนบุคคล  ปัจจัยและสาเหตุมีอะไรบ้าง

สิทธิส่วนบุคคล อันหมายถึง สิทธิความเป็นส่วนตัว ชื่อเสียง ครอบครัว เกียรติยศและความเป็นอยู่ คำที่ถูกมองข้าม ด้วยสื่อทางโซเชี่ยลที่เปรียบเสมือนโลกส่วนตัว สำหรับบางคนมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์สำหรับทำบางสิ่งบางอย่าง แต่สำหรับบางกลุ่มคนอาจจะเป็นกระแสนิยม เพียงเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่มีคำจัดกัดความใดๆ เป็นความพอใจส่วนบุคคล ภายใต้มุมมองและความคิด ณ ขณะนั้น

สิทธิส่วนบุคคล ที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิ ได้แก่ การทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ อาทิ ด้านการเงิน การใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิผู้บริโภค เนื่องจาก ระบบจัดการข้อมูลการแสดงความคิดเห็นของผู้ให้บริการบนเว็บไซต์ โซเชี่ยล และแอพพลิเคชั่น ต่างๆ เป็นพื้นที่เสรีภาพด้านการการแสดงความคิดเห็น หรือการกระทำใดๆ ความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพจึงไม่ได้รับการป้องกันเท่าที่ควร

paparazzi

สาเหตุการมีอะไรบ้าง

  1. สามัญสำนึก คือ สัญชาตญาน ที่สามารถจำแนกได้ว่า สิ่งไหนผิด สิ่งไหนถูกต้อง ซึ่งการแสดงออกทางด้านความรู้สึก การซาบซึ้ง การสำนึก ที่สามารถรู้ได้โดยไม่ต้องได้รับการแนะนำสั่งสอน
  2. พื้นฐานนิสัย ที่พบเห็นได้ในบุคคล คนหนึ่ง ด้วยการแสดงออกทางพฤติกรรมทางกาย วาจา หรือใจ ทั้งด้านบวกและด้านลบ เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ทำให้มีการละเมิดความเป็นส่วนตัว ซึ่งนำมาให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล หรือองค์กร
  1. สังคมออนไลน์ที่ขาดระเบียบวินัย และไม่มีขอบเขตความเป็นส่วนตัว ช่องว่างแห่งการสื่อสาร ที่ถูกใช้ไปในทางที่ผิดด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดการกลั่นกรอง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่สาม สถานที่ หรือการวิพากวิจารณ์ในทางสังคมเนื่องจากการตีความและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ล้วนเป็นการเดินทางของความคิด ในชั่วขณะ ที่ขาดจิตสำนึกรับผิดชอบและศีลธรรมอันดี

ปัจจัย ที่ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ด้วยการแชร์ภาพถ่าย การเผยแพร่คลิป การวิพากวิจารณ์ จากสังคม เมื่อพื้นที่ออนไลน์ได้รับการเข้าถึงการกลุ่มคนทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก พฤติกรรมการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและการกระทำต่างๆ คือ ความรับผิดชอบต่อความเป็นส่วนตัวของคนอื่น เป็นประเด็นหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ  เนื่องจากหลายคน  เข้าใจว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่แท้จริงขาดความรู้สึก          และสามัญสำนึกที่ดี พฤติกรรมพื้นฐานที่แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด จึงก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหนึ่งเกินที่จะประเมินค่าได้

การขาดจิตสำนึก หรือ คิดไม่ได้ คิดไม่เป็น ก่อนแชร์ จะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ปัจจุบัน พรบ.คอมพิวเตอร์ ได้มีกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค ตาม มาตรา.112 ทางโซเชียลฯ แม้เทคโนโลยีจะรุดหน้าและมีประโยชน์มากเพียงใด แต่ก็เหมือนดาบสองคม หากขาดการควบคุมและการใช้งานอย่างถูกต้องแล้ว ความเสื่อมเสียที่เกิดขึ้น อาจจะทำให้มีการเลียนแบบหรือเอาเป็นเยี่ยงอย่าง การสนับสนุนให้ใช้อินเตอร์เน็ตให้ถูกทาง และมีกฏหมายที่ครอบคลุมกำหนดบทลงโทษ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับยุคดิจิตอลและเทคโนโลยี เพื่อป้องกันสิทธิเสรีภาพและความเป็นส่วนตัวจากการถูกละเมิดโดยไม่เป็นธรรม