rightspersonal-3

ความสำคัญของสิทธิส่วนบุคคล

rightspersonal-2

ความส่วนตัวถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในชีวิต คงไม่มีใครที่อยากให้มีคนมาแอบตาม แอบถ่ายรูป หรือ กระทำการใด ๆ ก็ตามแต่ ที่เราไม่เห็นชอบด้วย จึงถือกำเนิดคำว่า “สิทธิส่วนบุคคล” ขึ้นมา ซึ่งคำนี้ก็มีกฎหมายตามขึ้นมาควบคุมอีกที

“right to privacy” หรือ สิทธิส่วนบุคคล ซึ่งยึดถือตามกฎแห่งธรรมชาติ “Natural and legal right” และเริ่มมีการรู้จักครั้งแรกจากบทความที่ถูกเขียนขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม 1890 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อบทความที่ชื่อ “The Right To Privacy” ที่ถูกเขียนโดยทนาย Samuel D. Warren และ Louis Brandeis ที่ภายหลังได้ขึ้นเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมาประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้นโยบายสิทธิส่วนบุคคลแห่งแรกของโลก โดย Warren และ Brandeis ได้เขียนอธิบายเอาไว้ว่าสิ่งนี้ คือการ “ได้สิทธิที่จะให้อยู่คนเดียว” คือไม่มีใครสามารถมาทำอะไรที่เป็นอันรบกวนความสงบสุข และความปลอดภัยของคุณได้

การถือกำเนิดของสิทธิมนุษยชน

หลังจากสิทธิส่วนบุคคลเริ่มมีบทบาทมากในหลายประเทศทำให้เกิดการร่วมมือกันของหลายประเทศ โดยให้ใจความสำคัญที่เหมือนกันคือเพื่อปกป้องสิทธิทางเสรีภาพของบุคคล ครอบครัว และที่อยู่อาศัย ป้องกันการกระทำให้เสื่อมเสียภาพลักษณะ ชื่อเสียง หรือทางร่างก่าย ในหัวข้อของ Universal Declaration of Human Right ซึ่งปัจจุบันมีประเทศร่วมลงนามทั้งหมด 48 ประเทศ ในปี 1948 ได้แก่:

  1. อัฟกานิสถาน (Afghanistan)
  2. อาร์เจนตินา (Argentina)
  3. ออสเตรเลีย (Australia)
  4. เบลเยียม (Belgium)
  5. โบลิเวีย (Bolivia)
  6. บราซิล (Brazil)
  7. พม่า (Burma)
  8. แคนาดา (Canada)
  9. ชิลี (Chile)
  10. จีน (China)
  11. โคลอมเบีย (Colombia)
  12. คอสตาริก้า (Costa Rica)
  13. คิวบา (Cuba)
  14. เดนมาร์ก (Denmark)
  15. สาธารณรัฐโดมินิกัน (Dominican Republic)
  16. เอกวาดอร์ (Ecuador)
  17. อียิปต์ (Egypt)
  18. เอลซัลวาดอร์ (El Salvador)
  19. สาธารณรัฐเอธิโอเปีย (Ethiopia)
  20. ฝรั่งเศส (France)
  21. กรีซ (Greece)
  22. กัวเตมาลา (Guatemala)
  23. ไฮติ (Haiti)
  24. ไอซ์แลนด์ (Iceland)
  25. อินเดีย (India)
  26. อิหร่าน (Iran)
  27. อิรัก (Iraq)
  28. เลบานอน (Lebanon)
  29. ไลบีเรีย (Liberia)
  30. ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg)
  31. เม็กซิโก (Mexico)
  32. เนเธอร์แลนด์ (Netherlands)
  33. นิวซีแลนด์ (New Zealand)
  34. นิการากัว (Nicaragua)
  35. นอร์เวย์ (Norway)
  36. ปากีสถาน (Pakistan)
  37. ปานามา (Panama)
  38. ปารากวัย (Paraguay)
  39. เปรู (Peru)
  40. ฟิลิปปินส์ (Philippines)
  41. สยาม (Siam)
  42. สวีเดน (Sweden)
  43. ซีเรีย (Syria)
  44. ไก่งวง (Turkey)
  45. อังกฤษ (United Kingdom)
  46. สหรัฐอเมริกา (United States)
  47. อุรุกวัย (Uruguay)
  48. เวเนซุเอลา (Venezuela)

โดยมีประเทศงดออกเสียงทั้งหมด 8 ประเทศ

  1. เบลารุส Byelorussian SSR (Byelorussia)
  2. สโลวาเกีย (Czechoslovakia)
  3. โปแลนด์ (Poland)
  4. ซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia)
  5. สหภาพโซเวียต (Soviet Union)
  6. ยูเครน Ukrainian SSR (Ukraine)
  7. สหภาพแอฟริกาใต้ (Union of South Africa)
  8. ยูโกสลาเวีย (Yugoslavia)

การคุ้มครองทางกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลครอบคลุมไปถึงการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต โดยมีใจความสำคัญอยู่ที่การคุ้มครองเสรีภาพของบุคคลนั้น ๆ เป็นหลัก