rightspersonal-1

กฎหมายด้านสิทธิส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง

personal-rights

กฎหมายด้านสิทธิส่วนบุคคลนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายมาตรา โดยเริ่มตั้งแต่มารตราที่ 35 และ 326 จนถึง 329 โดยจะเป็นส่วนของเรื่องความปลอดภัยส่วนบุคคล ความผิดในฐานหมิ่นประมาท และการใส่ร้าย หรือแสดงความคิดเห็น หรือเขียนข้อความใดก็ตามที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล โดยกล่าวไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 35

มาตรา 35 สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครองการกล่าวหรือไขข่าวแพร่ หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วสำหรับสังคมแล้วที่จะมีการอิจฉา จนไปถูกการพูดดูถูกเหยียดหยามกันตามมา แต่บางครั้งก็รุนแรงเกินที่จะรับไหว โดยการกระทำนั้นถือเป็นความผิดในมาตราที่ 326 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ และยังมีส่วนขยายเพิ่มเติมของมาตราที่ 326 คือ มาตรา 328

มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท บนอินเตอร์ เป็นสังคมขนาดใหญ่มาก มีกลุ่มผู้คน ทุกเพศทุกวัย สามารถเข้าถึงกันผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการมากมายและด้วยสังคมที่เปิดกว้างนี้เอง บางครั้งก็อาจเกิดความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พิมพ์อะไรลงไปมั่ว ๆ หรือใช้อารมณ์ชั่ววูบในการทำลงไป หรือไม่ก็อยู่ของเราดี ๆ ก็มีคนมาฟ้องร้องเราเพราะไม่พอใจที่เราพิมพ์ หรือ พูดอะไรลงไป ทำให้มีกฎหมายออกมารองรับตรงนี้เพิ่มเติม อ้างอิงจากมาตรา 329

มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจิต (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย ของประชาชนย่อมกระทำ หรือ (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิด เผยในศาลหรือในการประชุม ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท